Search

ตลาดอีคอมเมิร์ซปี 2020 คาดแตะ 2.2 แสนล้าน - ฐานเศรษฐกิจ

marketsmd.blogspot.com

ตลาดอีคอมเมิร์ซปี 2020 คาดแตะ 2.2 แสนล้าน หรือเติบโตขึ้น 35% หลังรับแรงกระตุ้นจากไควิด -19 และพฤติกรรมรักสะดวกสบาย ส่งผลคนไทยหันมาช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ผลักดันธุรกิจอีคอมเมิร์ซโตแรง ผู้ประกอบการหน้าใหม่แห่ลงสนาม ขณะที่ระบบขนส่ง 3 ปี โตหนัก 40%

ไพรซ์ซ่า (Priceza.com) ได้ประเมินการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปี 2020 ซึ่งเป็นปีที่คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในใช้บริการออนไลน์มากขึ้น รวมถึงการช้อปปิ้งออนไลน์ โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลประกาศมาตรการล็อคดาวน์ จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรับโคโรนา หรือ โควิด -19 โดยคาดว่า มูลค่าตลาดรวมอีคอมเมิร์ซ จะขยับเพิ่มขึ้นถึง 35% หรือประมาณ 2.2 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม จากการประเมินของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า รายงานข้อมูลยอดขายสินค้าผ่าน E-commerce พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 มีมูลค่าสูงถึง 1,929 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 69,444 ล้านบาท และเพิ่มขึ้น 20% มูลค่า 83,520 ล้านบาท ในปี 2558 หรือมูลค่า 2,320 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าในปี 2559 มูลค่าตลาดจะเพิ่ม 23% และเพิ่มขึ้นมีมูลค่า 5,572 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2 แสนล้านบาทในปี 2563 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเติบโตของมูลค่าตลาด ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการขยายตัวทางการค้าของธุรกิจขายปลีกทางอินเทอร์เน็ตจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องไปในทิศทางเดียวกับ E-commerce 
 

นอกจากนี้ ไพรซ์ซ่า ยังได้รวบรวมผู้เล่าหน้าเก่าและหน้าใหม่ ที่แห่ลงสนามแข่งขันในธุรกิจกลุ่มอีคอมเมิร์ซมากขึ้นทุกปี โดย Thailand E-commerce Landscape สามารถแบ่งผู้เล่นทั้งหมดออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่

1.      เครื่องมือการทำการตลาด (Marketing Tools)

แบรนด์ต้องมีการวางแผนการตลาดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงโฆษณา การคิดรายการส่งเสริมการขาย การบริหารจัดการดูแลฐานลูกค้าที่ดี วางแผนช่องทางในการโปรโมท หรือจะเป็นประชาสัมพันธ์ให้แบรนด์ของเราเป็นที่รู้จักต่อผู้บริโภคมากขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้แบรนด์ของคุณประสบความสำเร็จ ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือการทำการตลาดต่างๆ จึงสำคัญกับแบรนด์ผู้ผลิตเป็นอย่างมาก

2.      อีคอมเมิร์ซ (E-commerce Channel)

ช่องทาง E-commerce เป็นหนึ่งในช่องทางที่ผู้ผลิตต่างๆ ควรที่จะเข้ามาแข่งขันในช่องทางนี้ เนื่องจากว่าปัจจุบันเทคโนโลยี และความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตทำให้ไม่มีช่องวางระหว่างผู้ค้าและผู้ซื้ออีกต่อไป การจับจ่ายใช้สอยสามารถทำได้ง่ายๆที่บ้าน ในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที

ทำให้การขายผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งแบรนด์ผู้ผลิตสามารถขายผ่าน 3 ช่องทางได้แก่

·       E-marketplace การนำสินค้าไปขายบนเว็บไซต์ตลาดสินค้าออนไลน์ ที่รวมร้านค้าหลายแห่งไว้ในที่เดียว ซึ่งเราสามารถไปเปิดร้านในนั้นได้ เช่น Lazada Shopee เป็นต้น

·       Social Commerce การขายออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, หรือ [email protected] เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน Social Media หลายตัวได้เพิ่มฟังก์ชั่นสำหรับการขายสินค้า ทำให้ง่ายต่อการวางขายมากขึ้น

·       E-tailer/Brand.com คือการทำร้านค้าออนไลน์ของตัวเอง ไม่ต้องผ่าน Marketplace คนกลาง ดังนั้นจึงไม่มีการถูกหักค่าคอมมิชชั่นเมื่อเราขายได้ ซึ่งสามารถเปิดร้านค้าออนไลน์เองผ่าน Webstore Platform ต่างๆ เช่น Tarad, LnwShop หรือเปิดร้านค้าออนไลน์เอง ทำเว็บเอง ขายเอง เช่น Powerbuy.com และ Beauticool.com เป็นต้น

3.      ระบบการชำระเงิน (Payment)

จากธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่มีการเติบโตมากขึ้นทุกๆ ปี สิ่งที่เติบโตควบคู่กัน คือ ระบบการชำระเงิน เมื่อเทคโนโลยีมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยเริ่มก้าวเข้าสู้สังคมยุคไร้เงินสด (cashless society) เห็นได้จากผู้คนเริ่มใช้เงินสดในชีวิตประจำวันน้อยลง และหันมาใช้บริการระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แทน ไม่ว่าจะเป็น การชำระเงินเพื่อซื้อสินค้า การชำระบิลค่าบริการต่างๆ ทำให้การแข่งขันของระบบการชำระเงินมีความดุเดือดมากยิ่งขึ้นทั้งจากผู้เล่นธนาคารและกลุ่มบริษัทเอกชน

 4.      ระบบขนส่ง (Logistic)

จากพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัลและการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ชที่สอดคล้องกัน ส่งผลให้ตลาดบริษัทขนส่งในไทยมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

จากการวิเคราะห์ของ SCB: Economic Intelligence Center โดยการคำนวณจากบริษัทขนส่งพัสดุในไทยรายใหญ่ประมาณ 22 ราย ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา 2017-2019 พบว่ามูลค่าตลาดของบริษัทขนส่งในไทยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 40% ต่อปี จากมูลค่าปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 2.8 หมื่นล้านบาท เป็นผลให้การแข่งขันของธุรกิจบริษัทขนส่งมีความดุเดือด รุนแรงมากขึ้นทุกปี เห็นได้จากการกดราคาค่าบริการ เพื่อดึงดูดให้ผู้ประกอบการต่างๆหันมาใช้บริการขนส่งของตน ซึ่งระบบขนส่งก็ยังแบ่งออกยิบย่อยได้อีกเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ประกอบการและผู้บริโภค
 





June 10, 2020 at 11:47AM
https://ift.tt/2AcZ8Ez

ตลาดอีคอมเมิร์ซปี 2020 คาดแตะ 2.2 แสนล้าน - ฐานเศรษฐกิจ

https://ift.tt/3azMLPC


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ตลาดอีคอมเมิร์ซปี 2020 คาดแตะ 2.2 แสนล้าน - ฐานเศรษฐกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.