Search

ตลาดอีมันนี่โตพรวด 444% นอนแบงก์กินแชร์91% - ฐานเศรษฐกิจ

marketsmd.blogspot.com

ทรูมันนี่เขย่าพอร์ตMicro Creditชูดอกเบี้ย 0%ล่อใจเดือนแรก เจฟินเผยเอ็นพีแอลสูง กสิกรไทยส่งXpressLoan

ตลาดอีมันนี่โตพรวด 444% นอนแบงก์ชิงแชร์กว่า 91% จากมูลค่าตลาด 2.45 หมื่นล้านบาท ทรูมันนี่เขย่าพอร์ต “Micro Credit”  รุกปล่อยกู้ปูพรมฐานลูกค้าทรูมูฟกว่า 8.6 ล้านราย ชูดอกเบี้ย 0% ล่อใจเดือนแรก เจฟินเทค เผยคนแห่กู้ผ่านเฟซบุ๊กวันละ 500 ราย แต่เอ็นพีแอลสูง 20% ด้านเคแบงก์ส่ง Xpress Loan เจาะฐานราก
ทรูมันนี่ ปรากฎการณ์การเงินรูปแบบใหม่อีกครั้งเมื่อเปิดบริการ เปิดบริการ “Micro Credit” บริการยืมก่อน คืนทีหลัง ให้แก่ผู้ถือบัตรทรูการ์ด ทั้ง 5 กลุ่ม ได้แก่ ทรูแบล็ค ทรูเรด ทรูบลู ทรูกรีน และทรูไวท์ ที่เป็นลูกค้าทรูมูฟเอชแบบรายเดือน 8.6 ล้านราย และมีประวัติการชำระค่าบริการดี ไม่มียอดคงค้าง วงเงินสูงสุด 4เท่าของยอดบิลรายเดือนหรือสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ด้วยเงื่อนไขพิเศษดอกเบี้ย 0% เดือนแรกเลือกผ่อนชำระสูงสุดนาน 3 เดือนตั้งแต่วันนี้ถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2563 นั้น
 
อีมันนี่โต 400%
 “แอพทรู มันนี่” เป็นผู้ให้บริการหัวแถวของตลาดอีวอลเล็ต ซึ่งมีมูลค่าตลาดกว่า 2.4หมื่นล้านบาท เห็นได้จาก ณ เดือนพฤษภาคม 2563 มูลค่าธุรกรรมเงินe-Money มีจำนวน 97.92 ล้านบัญชี มูลค่าการเติมเงิน 24,604.91 ล้านบาทและมูลค่าการใช้จ่ายรวม 24,459.03 ล้านบาท เมื่อพิจารณาย้อนหลัง 7 ปี (ตั้งแต่ปี 2557-2563) พบว่า จำนวนบัญชีเพิ่มขึ้น 282.5% แบ่งเป็นผู้ให้บริการสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น 1,073% นอนแบงก์เพิ่มขึ้น 226% มูลค่าการเติมเงิน เพิ่มขึ้น 444% แบ่งเป็นผู้ให้บริการสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 1,214% นอนแบงก์เพิ่มขึ้น 412% และมูลค่าการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 442% แบ่งเป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 1,033% นอนแบงก์เพิ่มขึ้น 416%
 นอกจาก ทรูมันนี่ ยังมีผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ซึ่งให้บริการในตลาด อาทิ แอพ WeFresh สินเชื่อเงินสดออนไลน์ (บัตรเครดิต จำนองรถ จำนองที่ดิน) วงเงิน 10,000บาท, แอพU: You Trip Travel Wallet , เงินทันเด้อ(Thunder)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-“ทรูมันนี่” จับกลุ่มลูกค้าทรูมูฟ เอช ปล่อยสินเชื่อไม่เกิน 10,000 บาท

-แบงก์กรุงศรีรุกสินเชื่อออนไลน์

-กสิกรไลน์ พร้อมลุยสินเชื่อออนไลน์กลางปี63

-แบงก์เปิดศึกชิงเค้ก "สินเชื่อออนไลน์"


เจฟิน ชิงฐานลูกค้า
 นายธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด บริษัทในกลุ่มเจมาร์ท กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การให้บริการสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัล ยังมีโอกาสเติบโตมหาศาล เพราะมีผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการการเงินของธนาคารอีกเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามยังไม่มีผู้ชนะธุรกิจนี้ เนื่องจากยังมีฐานข้อมูล และพฤติกรรมของลูกค้าไม่มากพอทำเครดิตสกอริ่ง ทำให้ปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูง ทั้งนี้มองว่าต้องรอความพร้อมของบริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (NDID) ที่นำมาใช้ประกอบกับระบบเครดิตสกอริ่ง เพื่อพิจารณาการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลไปยังกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินของธนาคาร
 “ที่ผ่านมาเราได้ทดลองให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลผ่าน ทางเฟชบุ๊ก โดยนำเทคโนโลยี AI มาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ขอสินเชื่อเพื่อปล่อยกู้ โดยมีผู้เข้ามาใช้บริการขอสินเชื่อวันละ 500-600 คน เดือนละประมาณ 15,000 คน แต่มีผู้ผ่านการอนุมัติไม่ถึง 1% และมี NPL สูงถึง 20% อย่างไรก็ตามเราได้กลไกการปล่อยสินเชื่อทางดิจิทัล มาพัฒนาแอพให้กับเจมันนี่ และได้ฐานข้อมูลลูกค้ากลุ่มหนึ่งมาทำเป็นเครดิตสกอริ่งให้กับบริษัทในเครือเจมาร์ท ทั้งเจมันนี่ และ ซิงเกอร์” นอกจากนี้ยังมีแผนนำกลไกการให้บริการสินเชื่อผ่านทางดิจิทัล ไปในธุรกิจอื่นๆ เช่น อสังหา หรือ โอเปอเรเตอร์ เพื่อให้บริการสินเชื่อกับกลุ่มลูกค้าธุรกิจเหล่านี้
  

เคแบงก์ชี้เป็นโอกาส
 แหล่งข่าวจากธนาคารกสิกรไทยระบุว่า การให้บริการวงเงินยืมก่อนคืนที่หลังผ่านแอพ ทรูมันนี่ วอลเลตนั้น เป็นการสร้างสนามเพื่อให้บริการเฉพาะกลุ่ม โดยแนวทางให้บริการเป็นการดึงลูกค้านอกระบบเข้ามาสู่ระบบซึ่งอยู่ภายใต้กำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในส่วนของธนาคารยังไม่ลงไปให้บริการในกลุ่มดังกล่าวเต็มรูปแบบ ส่วนหนึ่งเพราะธนาคารมีฐานลูกค้าหลักที่ให้บริการอยู่แล้วแต่อนาคตอาจจะมีโอกาสเห็นการทำตลาดเพิ่มขึ้น เพราะที่ผ่านมามีโปรดักต์สินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan ซึ่งคนละกลุ่มเป้าหมายกับทรูมันนี่ โดยพิจารณารายได้ประจำต่อเดือนตั้งแต่ 7,500 บาทต่อเดือนขึ้นไป อายุทำงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน วงเงินกู้ 1.5 ล้านบาท กรณีมีการเดินบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคาร 7เดือนขึ้นไปไม่ต้องแสดงเอกสารรายได้
 “ทรูมันนี่ จะพิจารณาจากรอบบิล แต่แบงก์เน้นกลุ่มลูกค้าต้องมีรายได้ประจำต่อเดือน ซึ่งคนละฐานลูกค้ากับแบงก์ ส่วนใหญ่แบงก์ลงไปไม่ถึงหรือกำลังจะลงไปให้บริการ โดยต้องเรียนรู้เรื่องความเสี่ยงลูกค้ากลุ่มนี้จึงต้องค่อยๆไป และอีกอย่างที่ผ่านมาแบงก์มีฐานลูกค้ารายใหญ่และรายย่อยให้บริการมากพอแล้ว นอกจากนี้ยังมีกฎกติกาในกาในการติดตามทวงถามหนี้ซึ่งอาจจะมีผลต่อแบงก์”
 อย่างไรก็ตาม การให้วงเงินผ่านอีวอลเล็ตนั้น เป็นความพยายามที่จะแย่งลูกค้านอกระบบ เข้ามาในระบบโดยมีหน่อยงานกำกับดูและควบคุมการติดตามหนี้ แต่อัตราการเติบโต ยังไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเพราะคนมีภาระหนี้อยู่แล้ว ซึ่งกลุ่มนี้คนละกลุ่มกับNew Nomal จะเป็นการลงทะเบียนมีตัวตนมีหลักแหล่งที่แน่นอน ซึ่งหลังโควิดเชื่อว่าบริการอีวอลเล็ตมีส่วนที่จะเป็นอีกเครื่องมือในการใช้จ่ายของลูกค้า ทั้งนี้หากสามารถพัฒนาสถาบันการเงินอาจจะเข้าไปปล่อยสินเชื่อสนามของตัวเองคือ มีร้านค้ามาใช้บริการ ซึ่งธนาคารสามารถจะเข้าไปให้บริการเติมเงินให้วอลเล็ตอื่นๆ เช่น ร่วมกับแกร๊บ ซึ่งมีฐานลูกค้าหลักล้านรายแล้ว และ BlueCONNECT ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นใหม่ที่กสิกรไทยร่วมกับ บมจ.ปตท.น้ำมันและร้านค้าปลีก(โออาร์) โดยให้บริการเติมเงินผ่านแอพผ่านแอพพลิเคชั่น BlueCONNECTเพื่อเติมเงินในกระเป๋าเงินออนไลน์หรืออีวอลเล็ตเพื่อใช้จ่ายร้านค้าในเครือโออาร์
 





August 29, 2020 at 09:44AM
https://ift.tt/2QAiTKB

ตลาดอีมันนี่โตพรวด 444% นอนแบงก์กินแชร์91% - ฐานเศรษฐกิจ

https://ift.tt/3azMLPC


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ตลาดอีมันนี่โตพรวด 444% นอนแบงก์กินแชร์91% - ฐานเศรษฐกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.