Search

Voice of GREEN - การตลาดรักษ์โลก - Businesstoday

marketsmd.blogspot.com

ในจังหวะนี้ที่หลายธุรกิจต้องปรับตัว ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ ไปจนกระทั่งการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจทั้งหมด อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากทั้งกระแสดิสรัปชั่นและโควิด-19 ผมจึงอยากจะชวนผู้ประกอบการภาคธุรกิจให้ลองหันมามองธุรกิจหนึ่งที่น่าจะมีอนาคตที่สดใสกันนะครับ

เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วครับว่า เราใช้ทรัพยากรบนโลกกันอย่างสิ้นเปลืองมากมาย เราสร้างขยะจากการใช้สินค้าและบริการที่มักจะฟุ่มเฟือยเกินเหตุ มีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เกินความจำเป็น เช่น การที่โทรศัพท์มือถือมีรุ่นใหม่ออกมาบ่อยๆ ทุกปี ตัวโทรศัพท์ก็มีกล่องบรรจุที่ดูใหญ่หลายชั้น เพื่อสร้างความรู้สึกหรูหราสมราคาให้กับผู้บริโภค หรือการสั่งอาหาร การซื้อสินค้าออนไลน์ ที่การจัดส่งก็ต้องใช้กล่องบรรจุภัณฑ์หีบห่อในปริมาณมหาศาล ทั้งหมดนี้ล้วนแต่นำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น

จากกระแสความใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม ตลาดสีเขียว ไปจนถึงแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างมาก ดังเช่นที่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศ “เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development Goals : SDGs) เช่น การใช้พลังงานอย่างประหยัด การระมัดระวังการใช้น้ำ การลดการเกิดขยะของเสีย รวมไปถึงการรีไซเคิล ซึ่งหลักปฏิบัติเหล่านี้เป็นแนวทางที่ประเทศพัฒนาแล้ว รัฐบาล รวมถึงองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ล้วนแต่ยอมรับและนำมาปรับใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการเกิดขึ้นของธุรกิจรีฟิล มีความนิยมในการนำแก้วแบบใช้ซ้ำมาซื้อเครื่องดื่ม มีการยกเลิกการแจกถุงพลาสติกตามร้านค้าปลีก

- Advertisement -

มีข้อน่าสังเกตว่า ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผู้คนต้อง Work from Home กันเป็นส่วนใหญ่ เรามีการสั่งสินค้าช็อปปิ้งออนไลน์กันมากมาย มีการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่กันบ่อยมาก จนเกิดปริมาณขยะจากกล่องอาหาร กล่องใส่สินค้า ถุงพลาสติก เพิ่มขึ้นมากมาย เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า แม้แต่คนที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมก็อาจจะไม่ได้มีทางเลือกมากนักในการหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดขยะเหล่านี้ จึงน่าคิดว่าตัวสินค้าและบริการในอนาคตจะถูกดีไซน์อย่างไรให้ตอบโจทย์ความต้องการความสะดวกสบายของผู้บริโภค แต่ขณะเดียวกันก็ช่วยดูแลไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมด้วย

งานวิจัยการตลาด “Voice of GREEN : การตลาดโลกสวย” โดยนักศึกษาปริญญาโทสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้เก็บข้อมูลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 1,252 ราย (ส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล) พบว่า คนไทย 37.6% มีความพร้อมและใส่ใจในการบริโภคแบบกรีนๆ อย่างจริงจัง ในขณะที่อีก 36.5% เป็นการกรีนตามสะดวกและตามกระแส ซึ่งแปลว่าถ้าทำได้หรือคนอื่นทำก็ยินดีทำไปตามนั้น จะว่าไปแล้วสัดส่วนทั้งหมดนี้รวมกันได้ถึง 3 ใน 4 ของผู้บริโภคทั้งหมด ก็นับว่าเป็นตัวเลขกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่น่าสนใจมากๆ ครับ

ทั้งนี้ ในงานวิจัยข้างต้นยังได้ให้ข้อเสนอแนะถึงเทรนด์ธุรกิจโลกสวยที่เหมาะกับโลกในอนาคต ได้แก่ (1) สินค้าที่ย่อยสลายได้ง่าย หรือสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ (2) สินค้าที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมนั้นควรมีดีไซน์สวยงาม น่าใช้ ดูทันสมัย ไม่เชย (3) สินค้าหรือบริการนั้นควรเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้วัสดุหรือบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก มีอายุการใช้งานนาน ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ (4) ธุรกิจที่ใช้พลังงานสะอาด อาทิ พลังงานไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ยังอาจลองศึกษาค้นหารูปแบบโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น สตาร์ตอัพที่ชื่อ MoreLoop ที่เป็นศิษย์เก่า CMMU ได้ออกแบบแพลตฟอร์มขึ้นมาจับคู่ระหว่าง “เศษผ้าที่เหลือจากการผลิตเสื้อผ้าล็อตใหญ่” ที่มักถูกกองทิ้งไว้หาคนซื้อไม่ได้ เอามานำเสนอให้กับผู้ผลิตรายเล็กหรือดีไซเนอร์ที่ต้องการผลิตเสื้อผ้าจำนวนไม่มาก ให้สามารถหา “ผ้าคุณภาพดี ล็อตไม่ใหญ่ ในราคาที่เหมาะสมได้” แนะนำว่าเป็นไอเดียธุรกิจที่น่าสนใจไม่น้อย ถูกใจทั้งโรงงานที่มีเศษผ้าเหลือ ทั้งผู้ซื้อรายย่อย และถูกใจโลกสีเขียวของเราด้วยครับ




September 02, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/2DjktgS

Voice of GREEN - การตลาดรักษ์โลก - Businesstoday

https://ift.tt/3azMLPC


Bagikan Berita Ini

0 Response to "Voice of GREEN - การตลาดรักษ์โลก - Businesstoday"

Post a Comment

Powered by Blogger.